วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555


โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้
เรื่อง....การทำหน้ากากนายพราน
ชื่อโครงงาน
การทำหน้ากากนายพราน

ประเภทของโครงงาน
-เนื้อหา
-ตำนานนายพราน
-วิธีการทำหน้ากากนายพราน
-โอกาสที่ใช้
-ราคาของหน้ากากนายพราน
-ประเภทของหน้ากาก

ชื่อผู้เสนอโครงงาน
นายเกียรติศักดิ์   ไชยยศ  เลขขที่ และนางสาวศุภรพรรณ    สุวรรณคช  เลที่  36
กำลังศึกษาอยู่วิทยาลัยนาฏศิลปะนครศรีธรรมราช    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/1

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
อาจารย์  พรทิพย์     มหันตมรรค


แนวคิดที่มาและความสำคัญ 
         ด้านในหน้าพรานที่ทำด้วยไม้ชนิดต่างๆตามคติความเชื่อ(ซ้าย) เช่นไม้ขนุน ไม้ยอ ไม้มะพูด หรือไม้รัก  หน้าพรานด้านนอก(ขวา)

 หน้าพราน เป็นหน้ากากสำหรับตัว "พราน" ซึ่งเป็นตัวตลก ใช้ไม้แกะเป็นรูปใบหน้า ไม่มีส่วนที่เป็นคาง ทำจมูกยื่นยาว ปลายจมูกงุ้มเล็กน้อย เจาะรูตรงส่วนที่เป็นตาดำ ให้ผู้สวมมองเห็นได้ถนัด ทาสีแดงทั้งหมด เว้นแต่ส่วนที่เป็นฟันทำด้วยโลหะสีขาว หรือทาสีขาว หรืออาจลี่ยมฟัน (มีเฉพาะฟันบน) ส่วนบนต่อจากหน้าผากใช้ขนเป็ด หรือห่านสีขาวติดทาบไว้ต่างผมหงอก
หน้าพราน มีความสำคัญและอำนาจในทางศักดิ์สิทธิ์ไม่น้อยไปกว่าเทริดของโนรา เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล เห็นได้จากในช่วงเข้าทรงตายาย มักเรียกลูกหลานให้เข้ามารำพรานเพื่อความโชคดี มีผู้สันนิษฐานว่า สาเหตุที่หน้าพรานมีความสำคัญเทียบเท่ากับเทริดของโนรา ก็เนื่องมาจากในอดีต "พราน" เป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อสังคมยุคเก็บของป่าล่าสัตว์ และก่อนที่ชาวบ้านจะรับวัฒนธรรมโนราเข้ามา ชาวบ้านเคยรำพรานในพิธีโรงครูอยู่แล้ว พรานจึงเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี และชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเทียบเท่าโนรา เห็นได้จากตำแหน่งของหน้าพราน หากยังไม่ได้นำมาสวม จะต้องวางบนพาไล ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับบูชาใกล้กับเทริดของโนราเท่านั้น

วัตถุประสงค์
 1.  เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้
2.  เพื่อเป็นแกนนำในการเรียนรู้
3.   เพื่อให้บุคคลทั่วไปมีความรู้ และความสามารถ
4.  เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของการแสดง
5.  เพื่อให้ตนเองและเพื่อนในกลุ่มฝึกทำงานอย่างมีระบบ


หลักการและทฤษฎี
พิธีที่ก่อนจะเริ่มทำหน้ากากนานพราน
ก่อนการทำต้องมีเครื่องเส้นไหว้  เพื่อบวงสรวงครูมโนราห์ ดังนี้
1.สำรับ  5  ถ้วย 
-ข้าวสวย 1 ถ้วย
-อาหารคาว 2 ถ้วย
-ผักพล้า ปลายำ 1 ถ้วย
-น้ำ 1 แก้ว
2.ขนมโคไม่ใส่ไส้(ขนมโคหัวล้าน)
3.ไข่ไก่ต้มและดิบ(จำนวนเท่ากัน)
4.หมากพลู ธูป และเทียน
5.ขนมต้มขาว  ต้มแดง
6.ข้าวตอกดอกไม้
7.กรวยใบตอง 3 กรวย(แต่ล่ะกรวยจะมีหมาก  พลู  ดอกไม้  ธูปเทียน)

ประเภทของหน้ากาก

หน้าพรานแดง
        หรือหน้าพรานบุญที่นิยมใช้เล่นในการแสดงมโนรา และการแก้บนในการรำโนราลงครู
จากการบอกเล่าของ โนราลั่น เพชรสุข อายุ ๙๖ ปี โนราชาวทะเลน้อย อำเภอควนขนุน เล่าว่าพรานที่โนราและชาวบ้านทั้งหลายนับถือ มีทั้ง พรานเฒ่าหน้าทอง พรานบุญหน้าแดง พรานเทพ และพรานนวล  โดยเฉพาะ "พรานเฒ่าหน้าทอง" เป็นพรานที่โนราพัทลุง และชาวพัทลุง นับถือมาก เนื่องจากเป็นคนมีศีลมีสัตย์ บนบานรับ จึงติดทองที่หน้าพรานทุกครั้งที่บนรับจนเต็มหน้า ต่อมาจึงได้มีการทำ "หน้าพรานทอง" หรือ "พรานหน้าทอง" ไว้สำหรับตั้งหิ้งบูชา






พรานหน้าทอง
    ที่บ้านท่าช้าง หมู่ที่ ๕ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โนราปรีชา เพชรสุก  ปัจจุบันอายุ ๖๖ ปี มีความรู้ความสามารถในการทำเทริดโนรา และหน้าพราน

ประวัติผู้ให้ข้อมูล

ชื่อ  นายสนั่น        โสมล    เกิดวัน  พุธ  ที่  5  เดือน  พฤษจิกายนพ.ศ.2488
เลือดกรุ๊ป  เอ   อายุ  75  ปี      ที่อยู่ บ้านเลขที่   55  ม.8  ต.ฉวาง อ.ฉวาง    
จังหวัดนครศรีธรรมราช     80250
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์
1)  ส่วนที่สำคัญที่สุดของหน้ากากนายพราน   คือ    ที่จมูกและคิ้ว
2)  หน้ากากนายพราน 1 หน้าใช้เวลาทำ   1   อาทิตย์
3)  หน้ากากนายพรานที่ทำขายรายคา   1,000  บาท / หน้า


ภาพประมวน